เมนู

เพราะสงบกิเลสที่เหลือได้เด็ดขาด. บทว่า วิกฺขีโณ ชาติสํสาโร ความว่า
สงสารมีความเกิดเป็นต้น ซึ่งมีลักษณะดังกล่าวแล้วว่า
ลำดับแห่งขันธ์ธาตุและอายตนะ เป็นไปไม่ขาด
สาย ท่านเรียกว่า สงสาร ดังนี้

สิ้นแล้วโดยพิเศษ. เพราะเหตุไร ? เพราะภพใหม่ของภิกษุนั้นไม่มี
อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระอริยบุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น ไม่เกิดอีก
ต่อไป ฉะนั้นสงสารคือความเกิดของท่านจึงสิ้นไป. ก็เพราะเหตุไร ท่าน
จึงไม่เกิดอีก ? ควรพูดอีกว่า เพราะท่านตัดภวตัณหาได้เด็ดขาด และเป็น
ผู้มีจิตสงบ. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบ ความว่า สงสารคือชาติสิ้นแล้ว
เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึงไม่เกิดอีก.
จบอรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตสูตรที่ 9

10. สารีปุตตสูตร



ว่าด้วยผู้มีจิตสงบระงบ



[109] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาความสงบระงับของ
ตนอยู่ ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็น
ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาความสงบระงับของตน
เองในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุผู้จิตสงบระงับ มีตัณหาอันจะนำไปในภพ
ตัดขาดแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว พ้นแล้วจากเครื่อง
ผูกแห่งมาร.


จบสารีปุตตสูตรที่ 10
จบเมฆิยวรรคที่ 4


อรรถกถาสารีปุตตสูตร



สารีปุตตสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺตโน อุปสมํ ความว่า ความสงบกิเลสของตนได้เด็ด-
ขาด ด้วยอรหัตมรรค อันเป็นเหตุแห่งการบรรลุที่สุดสาวกบารมีญาณ.
ก็ท่านพระสารีบุตร เห็นประจักษ์ความเดือดร้อน ความกระวน
กระวาย ความเร่าร้อน และความทุกข์ อันเกิดแต่กิเลสมีราคะเป็นต้น
และทุกข์มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และปริเทวะเป็นต้น มีอภิสังขาร
คือกิเลสเป็นเหตุ ของเหล่าสัตว์ผู้ยังไม่สงบกิเลสแล้ว พิจารณาทุกข์มีวัฏฏะ
เป็นมูลของสัตว์เหล่านั้น ทั้งในอดีตและอนาคต แผ่กรุณาหวนระลึกถึง
ทุกข์มีประมาณไม่น้อย แม้ที่ตนเคยเสวยในคราวเป็นปุถุชน หรือที่มี
กิเลสเป็นเหตุ จึงพิจารณาเนือง ๆ ถึงความสงบกิเลสของตนว่า กิเลสอัน
เป็นเหตุแห่งทุกข์มากมายชื่อเช่นนี้ บัดนี้ เราละได้เด็ดขาดแล้ว. อนึ่ง
เมื่อจะพิจารณา ย่อมพิจารณาถึงความสงบกิเลสโดยถ่องแท้ ด้วยมรรค-